รวมเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ 4 ชนิด โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้มีการเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแกที่มีการรวมเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ 4 ชนิด เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเรื่องของพลังงานทดแทนพร้อมกับการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็นการรองรับนโยบาย Energy 4.0 ของกระทรวงพลังงานด้วย นอกจากนี้ยังมีการเปิดศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาให้การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของพลังงานแห่งใหม่ในแถบภาคกลางตอนล่าง
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 นายกรดิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับนายทวี นริสศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อเป็นประธานในพิธีการเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก พร้อมกับศูนย์การเรียนรู้ทับสะแก อ.ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ มีส่วนหัวหน้าราชการ ผู้นำชุมชน ร่วมกับประชาชนในพื้นที่อีกกว่า 500 คน เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ด้านของนายกรดิษฏ์ก็ได้กล่าวในงานว่า กฟผ. ได้มีการดำเนินการวิจัยและพัฒนาการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่องคู่กับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงหลักเรื่อยมา เป็นการตอบสนองแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของประเทศ พ.ศ. 2558 – 2579 หรือที่เรียกว่า AEDP2015 โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานร่วมกับกระทรวงพลังงานเป็นผู้จัดทำขึ้น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแกก็ถือเป็นอีกโครงการที่ กฟผ. ได้สะท้อนความมุ่งมั่นกับการนำนวัตกรรมพร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพกับโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนให้มากที่สุดเพื่อรองรับนโยบาย Energy 4.0 นอกากนี้ในอนาคต กฟผ. จะมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตไฟฟ้ากับการพัฒนาทางเลือกแบบผสมผสาน มีการจับคู่แหล่งผลิตตั้งแต่ 2 ชนิด ในรูปแบบไฮบริด มาวิจัยและพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อให้เกิดเสถียรภาพมากที่สุด
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแกมีขนาดกำลังการผลิตทั้งหมด 5 เมกะวัตต์ กฟผ. ต้องการสร้างให้เป็นสถานที่ศึกษาและวิจัยประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ มีการติดตั้งเทคโนโลยีด้านการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ 4 ชนิด ให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันของประเทศไทย ประกอบไปด้วย
- ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซีลิคอนกำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ เอาระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนักด้วยน้ำมาติดตั้ง
- ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด Amorphous Silicon กำลังผลิต 2 เมกะวัตต์
- ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด Micro Amorphous Silicon กำลังผลิต 1 เมกะวัตต์
- ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด CI(GS)C หรือ Cooper Indium Galliam Di-Selenide กำลังผลิต 1 เมกะวัตต์
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ 2-4 จะใช้การติดตั้งแบบคงที่ จะมีการศึกษาพัฒนาวิจัยเพื่อความเหมาะสมในโอกาสข้างหน้าต่อไปที่จะสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นได้มากมาย