การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และเซลล์แสงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์และเซลล์แสงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานทดแทนแบบหมุนเวียนที่ใช้แล้วสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้จากธรรมชาติ เป็นพลังงานสะอาด ไร้มลพิษ มีศักยภาพสูง ซึ่งพื้นฐานของการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ดังนี้
การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า
- เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ – ถูกออกแบบให้ใช้งานตามพื้นที่ชนบทที่ไร้ระบบจ่ายไฟจาก National Grid หลักการทำงานแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา กลางวันเซลล์แสงอาทิตย์จะได้รับพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าจ่ายให้แก่โหลดพร้อมประจุไฟฟ้าพลังงานส่วนเกินเก็บไว้ในแบตเตอรี่พร้อมกัน กลางคืนพลังงานที่เก็บเอาไว้ในแบตเตอรี่ก็จะถูกจ่ายให้แก่โหลด พูดง่ายๆ คือกระจายได้ทั้งกลางวันกลางคืนอย่างเป็นอิสระ
- เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย – ออกแบบสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับเข้าสู่ระบบจำหน่ายไฟฟ้า หลักการทำงาน 2 ช่วง กลางวันผลิตและจ่ายแก่โหลดโดยตรงผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวไฟฟ้าส่วนเกินจ่ายเข้าสู่ระบบ กลางคืนไฟที่อยู่ในระบบก็จะทำงาน
- เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน – ออกแบบสำหรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น พลังงานลมและเครื่องยนต์ดีเซล, พลังงานลมและพลังงานไฟฟ้าของน้ำ ระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์เป็นกรณีไป
การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน
- การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ – เป็นการผลิตน้ำร้อนแบบที่มีถังเก็บตั้งอยู่สูงกว่าแผงการรับแสงอาทิตย์ betflik คาสิโน จะใช้หลักการแบบหมุนเวียนตามธรรมชาติ
- การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน – เป็นวิธีที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อผลิตน้ำร้อนในปริมาณมากรวมไปถึงยังต้องมีการใช้งานน้ำร้อนที่ว่านี้อย่างต่อเนื่องด้วย
- การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน – เป็นการผลิตน้ำร้อนด้วยแสงอาทิตย์แบบผสมผสานด้วยการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนด้วยแสงอาทิตย์มาควบรวมกับความร้อนที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นการระบายความร้อนจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ ผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน เป็นการลดขนาดพื้นที่ของแผงรับรังสีความร้อนพร้อมใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเชิงพาณิชย์จากการผลิตน้ำร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย
การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และเซลล์แสงอาทิตย์เพื่ออบแห้ง
- การอบแห้งแบบ Passive – ใช้เครื่องอบแห้งทำงานโดยตรงกับพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมกับกระแสลมที่มีการพัดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตากแห้งธรรมชาติ, ตู้อบแห้งแบบได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง และตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสม
- การอบแห้งแบบ Active – มีเครื่องช่วยให้อากาศเกิดการไหลเวียนตามทิศทางที่ต้องการ
- การอบแห้งแบบ Hybrid – ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานรูปแบบอื่นๆ ช่วยเหลือในช่วงที่แสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอหรือต้องการให้ผลผลิตทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้นกว่าเดิม