Dishwashers

การทำงานโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ระบบจานรับแสง

หน่วยผลิตความร้อนภายในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์จะประกอบไปด้วยแผ่นกระจกรับแสงที่เป็นรูปจานโค้ง มีหน้าที่ในการสะท้อนแสงไปยังตัวรับแสงและตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ทำการติดตั้งอยู่ตรงจุดโฟกัสของตัวจานรับแสง หน้าที่หลักก็คือการแปรรูปพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานกลเพื่อเข้าสู่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมที่จะทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในทันที มีการอาศัยหลักการที่เรียกว่า stirling cycle ตัวรับแบบท่อแลกเปลี่ยนความร้อนมีตัวกลาง กล่าวคือ แก๊สไฮโดรเจนหรือฮีเลียมถูกบรรจุภายในกระบอกสูบจะมีการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนด้วยการรวมแสงอาทิตย์ในระดับอุณหภูมิที่สูงกว่า 700 องศาเซลเซียส พร้อมระดับความดัน 20 เมกกะปาสกาล จากนั้นแก๊สที่มีความเย็นตัวลงก็จะกลับไปรับความร้อนส่งผลให้ลูกสูบที่เกิดเป็นพลังงานกลเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าฐานของจานโค้งรับแสงซึ่งถูกออกแบบให้มีตัวระดับติดตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่อยู่บนท้องฟ้าเพื่อเป็นการรับแสงอาทิตย์จากรังสีโดยตรง มีระดับความเข้มสูงได้ตลอดวัน จานรับแสงที่ว่าอาจมีลักษณะเป็นจานโค้งผิวเรียบ แผงกระจกรวม หรือแผงกระจกแยกส่วนก็ได้ เพราะการออกแบบที่มีความซับซ้อนทำให้ระบบรับแสงหรือเครื่องจักรกลัสเตอร์ลิงมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากระดับไม่เกิน 40 กิโลวัตต์ ต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจานที่ 5-5 เมตร เหมาะอย่างยิ่งกับการผลิตกระแสไฟฟ้านอกสายส่ง